ล้ออะไหล่*
ล้ออะไหล่เสริมที่จัดให้มีอยู่สองรุ่นด้วยกัน คือ รุ่นที่เก็บไว้ในถุง หรือรุ่นสำหรับเก็บใต้พื้นบริเวณที่เก็บสัมภาระ
คำแนะนำต่อไปนี้ใช้เฉพาะเมื่อมีการสั่งซื้อล้ออะไหล่เพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์เท่านั้น ถ้ารถยนต์ไม่ได้ติดตั้งยางอะไหล่ ดูข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดซ่อมรอยรั่วฉุกเฉิน (TMK)
ล้ออะไหล่ (ล้อชั่วคราว) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ชั่วคราวเท่านั้น และต้องเปลี่ยนเป็นล้อปกติโดยเร็วที่สุด การใช้ล้ออะไหล่อาจจะส่งผลต่อลักษณะของการขับขี่ ล้ออะไหล่มีขนาดเล็กกว่าล้อปกติ จึงมีผลต่อระยะห่างจากพื้นของรถ ให้ความสนใจเป็นพิเศษเมื่ออยู่ใกล้ขอบถนนที่สูง และห้ามล้างรถด้วยเครื่องล้างรถ หากติดตั้งล้ออะไหล่บนเพลาหน้า ท่านจะไม่สามารถใช้โซ่พันล้อสำหรับพื้นหิมะในขณะเดียวกันได้ ระบบจะสามารถตัดการเชื่อมต่อกับเพลาหลังได้สำหรับรถที่มีระบบขับเคลื่อนทุกล้อ ล้ออะไหล่ไม่สามารถซ่อมแซมได้
ความดันลมยางที่ถูกต้องสำหรับล้ออะไหล่จะระบุไว้ใน ตารางความดันลมยาง
สำคัญ
- เมื่อติดตั้งล้ออะไหล่ ห้ามขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 80 กม./ชม.
- ห้ามขับขี่รถยนต์โดยติดตั้งล้อ "อะไหล่ชั่วคราว" มากกว่าหนึ่งล้อ
ล้ออะไหล่อยู่ในอ่างล้ออะไหล่โดยที่ด้านนอกหันลง สลักเกลียวตัวเดียวกันนี้จะโผล่ออกมาเพื่อยึดล้ออะไหล่และกล่องโฟมไว้ ภายในกล่องโฟมมีเครื่องมือทั้งหมด
ล้ออะไหล่จะอยู่ในถุง และจะต้องยึดไว้กับบริเวณพื้นบริเวณที่เก็บสัมภาระโดยใช้แถบรัด

รถที่มีรูยึดสัมภาระสี่อัน
หันที่จับของถุงล้ออะไหล่ออกมาให้หันเข้าหาตัวท่าน เกี่ยวห่วงของสายรัดแบบยืดเข้ากับรูยึดสัมภาระด้านหน้า สอดสายรัดที่มีขนาดยาวนี้เข้าในรูยึดสัมภาระด้านหน้าหนึ่งรู พาดสายรัดในแนวทแยงกับล้ออะไหล่และสอดผ่านที่จับด้านบน ยึดสายรัดเส้นสั้นเข้ากันไว้กับสายรัดเส้นยาว เกี่ยวเข้ากับรูยึดสัมภาระด้านหลังแล้วดึงให้แน่น
นำล้ออะไหล่ที่อยู่ใต้พื้นบริเวณที่เก็บสัมภาระออกมา
พับพื้นห้องเก็บสัมภาระขึ้น
ถอดสลักเกลียวยึด
ยกกล่องโฟมพร้อมด้วยเครื่องมือต่างๆ ออกมา
ยกล้ออะไหล่ออกมา
นำล้ออะไหล่ออกมาจากถุง
คลายสายรัด ยกล้ออะไหล่ออกจากห้องเก็บสัมภาระ และนำออกจากถุงใส่ล้ออะไหล่
พับพื้นห้องเก็บสัมภาระขึ้น
ยกเครื่องมือและแม่แรงออกจากกล่องโฟม
การถอด
ถ้าต้องเปลี่ยนล้อในบริเวณที่มีการจราจรคับคั่ง ให้วาง ป้ายเตือนรูปสามเหลี่ยม ไว้ด้วย ทั้งตัวรถและแม่แรง* จะต้องอยู่บนพื้นผิวแนวนอนที่มั่นคง
ใส่ เบรกจอดรถ และเข้าเกียร์ถอยหลัง หรือเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P ถ้ารถติดตั้งเกียร์อัตโนมัติ
คำเตือน
ตรวจสอบว่าแม่แรงไม่เสียหาย และเกลียวถูกหล่อลื่นอย่างทั่วถึง และปราศจากสิ่งสกปรก
บันทึก
วอลโว่ขอแนะนำให้ใช้เฉพาะแม่แรง* ของรถรุ่นดังกล่าว ซึ่งมีข้อมูลแสดงอยู่บนป้ายผนึกบนแม่แรง
ป้ายผนึกยังแสดงข้อมูลความสามารถสูงสุดในการยกของแม่แรงที่ความสูงต่ำสุดที่ระบุในการยก
นำแม่แรง*, ประแจขันล้อ*, เครื่องมือถอดฝาครอบล้อ* และเครื่องมือถอดฝาปิดโบลท์ล้อ ซึ่งอยู่ในแผงโฟมออกมา ถ้าเลือกแม่แรงอื่น ดู ยกรถขึ้น

เครื่องมือสำหรับการถอดฝาปิดพลาสติกบนโบลท์ล้อ
วางไม้รองไว้หน้าและหลังล้อรถที่ยังอยู่ติดกับพื้น เช่น ให้ใช้ท่อนไม้หนักๆ หรือก้อนหินขนาดใหญ่
รถที่มีกะทะล้อเหล็กจะมีฝาครอบล้อแบบถอดได้ ใช้เครื่องมือถอดในการเกี่ยวและดึงฝาครอบล้อแบบเต็มออก หรือ ใช้มือดึงฝาครอบล้อออก

ขันขอเกี่ยวลากพ่วงโดยใช้ประแจขันล้อ* จนถึงตำแหน่งสุดตามที่แสดงไว้ในภาพต่อไปนี้

สำคัญ
ต้องขันห่วงสำหรับพ่วงลากให้ครบทุกเกลียวในประแจขันโบลต์ล้อ
ถอดฝาปิดพลาสติกออกจากโบลท์ล้อโดยใช้เครื่องมือโดยเฉพาะสำหรับการทำงานนี้
ใช้ประแจขันล้อคลายน็อตยึดล้อออก ½ - 1 รอบ โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา
คำเตือน
ห้ามวางสิ่งของใดๆ ระหว่างพื้นและแม่แรง หรือระหว่างจุดขึ้นแม่แรงและแม่แรง
จะมีจุดขึ้นแม่แรงสองจุดที่แต่ละด้านของรถ มีช่องในฝาครอบพลาสติกที่แต่ละจุด หมุนฐานแม่แรงลงให้กดแนบกับพื้นอย่างเต็มที่

สำคัญ
พื้นดินจะต้องแน่น ราบเรียบและอยู่ในระดับเดียวกัน
ยกรถขึ้นจนกระทั่งล้อเป็นอิสระจากพื้น ถอดสลักเกลียวล้อและยกล้อออก
คำเตือน
ห้ามคลานเข้าไปใต้ท้องรถที่ถูกยกขึ้นไว้ด้วยแม่แรง
ผู้โดยสารต้องออกจากรถก่อนที่จะใช้แม่แรงยกรถขึ้น ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนล้อในสภาพแวดล้อมที่มีการจราจร ผู้โดยสารจะต้องยืนอยู่ในที่ปลอดภัย