ความยั่งยืน
การกำกับดูแลกิจการ
กลยุทธ์ความยั่งยืนของเราผสานเข้ากับกลยุทธ์องค์กรอย่างสมบูรณ์แบบ และได้รับการตรวจสอบอยู่เสมอจากการวิเคราะห์เป็นประจำ รวมถึงความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ เรามีโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่จะติดตามความคืบหน้าของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ความใฝ่ฝัน และการริเริ่มของเรา

เราจัดระเบียบโครงสร้างอย่างไร
โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการด้านความยั่งยืนของเราจัดระเบียบโดยอิงจากคำแนะนำของคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD)

การจัดองค์กร
คณะกรรมการ (BoD) – คณะกรรมการด้านบุคลากรและความยั่งยืน (PSC)
คณะกรรมการของเราเป็นผู้กำหนดทิศทางกลยุทธ์ และอนุมัติกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงเรื่องความยั่งยืน และมีหน้าที่ติดตามความคืบหน้าในคณะกรรมการ PSC โดยมีการหารือเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการด้านสภาพอากาศของเรา ทั้งด้านความเสี่ยงและโอกาส อย่างน้อยปีละสองครั้ง คณะกรรมการ PSC ยังมีหน้าที่นำมุมมองที่หลากหลายและมุมมองจากภายนอกมาใช้กับประเด็นด้านความยั่งยืนของบริษัทอีกด้วย
ทีมผู้บริหารระดับสูง (EMT)
ทีมผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการโดยรวม การปฏิบัติการ และการดำเนินการตามกลยุทธ์ความยั่งยืน และติดตามความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอผ่าน KPI ต่างๆ โดยมีการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศพร้อมความเสี่ยงและโอกาสในทุกไตรมาส
ทีมความยั่งยืนระดับโลก (GST)
ทีมความยั่งยืนระดับโลกเป็นศูนย์กลางที่รับผิดชอบในด้านการกำกับดูแลและการประสานงานด้านความยั่งยืนในแต่ละวัน โดยมีหน้าที่พัฒนาและปรับแต่งกลยุทธ์ความยั่งยืน เป็นผู้นำและสนับสนุนการริเริ่มเชิงกลยุทธ์ และติดตามความคืบหน้าของ KPI ของเรา นอกจากนี้ยังมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางธุรกิจเกี่ยวกับความยั่งยืนอีกด้วย
คณะกรรมการความยั่งยืนระดับโลก (GSC)
คณะกรรมการความยั่งยืนระดับโลกมีหัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนระดับโลกเป็นประธาน และประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นตัวแทนของสายงานในองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ ให้คำแนะนำ และสนับสนุนความคิดริเริ่ม ที่จะขับเคลื่อนกลยุทธ์และประสิทธิภาพการทำงานให้ก้าวไปข้างหน้า วัตถุประสงค์ก็คือ เพื่อปรับปรุงความร่วมมือในการทำงานข้ามแผนกและความเข้าใจกันและกัน ตลอดจนดำเนินการในประเด็นด้านความยั่งยืนและความเสี่ยงที่สำคัญๆ
คณะกรรมการความยั่งยืนระดับโลกมีหน้าที่อัปเดตและรายงานต่อคณะกรรมการ EMT ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอเพื่อการตัดสินใจ มีการหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ และป้อนข้อมูลเข้าสู่กระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งหัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนทั่วโลกเป็นหนึ่งในผู้บริหารความเสี่ยงขององค์กร
คณะกรรมการการเงินสีเขียว (GFC)
คณะกรรมการการเงินสีเขียวมีหน้าที่ทบทวนและตรวจสอบการเลือกโครงการสีเขียวที่เข้าเกณฑ์ – ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในรายละเอียดรายงานการเงินสีเขียวหน้า 148 ของรายงานประจำปี 2020 ของเรา
สายงานธุรกิจ
ทีมฝ่ายบริหารจัดการองค์กรมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างความมั่นใจว่า ความยั่งยืนจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานประจำวันของทุกคน พวกเขาเป็นตัวแทนความคิดสำหรับสมาชิก GSC และสามารถขอทรัพยากรและเงินทุนสำหรับโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืนได้
การรายงาน ESG
เราเชื่อในการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนของเราโดยบุคคลที่สามจากภายนอก การได้รับความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับบุคลากรของเราและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกว่า กลยุทธ์ความยั่งยืนและความใฝ่ฝันของเรานั้นสนับสนุนเป้าหมายระดับโลก เช่น เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDG) และข้อตกลงปารีส
การประเมินความยั่งยืนขององค์กรโดย S&P Global
การประเมินความยั่งยืนขององค์กรโดย S&P Global
เราตั้งใจจริงที่จะเปิดเผยการประเมินความยั่งยืนขององค์กร (Corporate Sustainability Assessment - CSA) โดย S&P Global ซึ่งได้คะแนน 71 คะแนนในการประเมินประจำปี พ.ศ.2563 และเราตั้งเป้าที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นในการประเมินประจำปี พ.ศ.2564
Cdp
Cdp
เราเปิดเผยแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของ CDP เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2563 ซึ่งได้รับคะแนน 'C' ในการเปิดเผยประจำปี พ.ศ.2564 เราตั้งเป้าที่จะได้รับคะแนนในระดับ 'A'
EcoVadis
EcoVadis
เรายังรายงานต่อ EcoVadis และได้รับคะแนนในระดับแพลตตินัมสำหรับปี พ.ศ.2563 ซึ่งทำให้เราอยู่ในระดับต้นๆ ของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ในอุตสาหกรรมของเรา
การประเมินความยั่งยืนขององค์กรโดย S&P Global
เราตั้งใจจริงที่จะเปิดเผยการประเมินความยั่งยืนขององค์กร (Corporate Sustainability Assessment - CSA) โดย S&P Global ซึ่งได้คะแนน 71 คะแนนในการประเมินประจำปี พ.ศ.2563 และเราตั้งเป้าที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นในการประเมินประจำปี พ.ศ.2564
Cdp
เราเปิดเผยแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของ CDP เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2563 ซึ่งได้รับคะแนน 'C' ในการเปิดเผยประจำปี พ.ศ.2564 เราตั้งเป้าที่จะได้รับคะแนนในระดับ 'A'
EcoVadis
เรายังรายงานต่อ EcoVadis และได้รับคะแนนในระดับแพลตตินัมสำหรับปี พ.ศ.2563 ซึ่งทำให้เราอยู่ในระดับต้นๆ ของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ในอุตสาหกรรมของเรา
สถานการณ์ความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน
จากมุมมองเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นความเสี่ยงสูงสุด ทั้งในแง่ของผลกระทบและความเป็นไปได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบริษัทและอุตสาหกรรมของเราในหลายๆ ด้าน ในปี พ.ศ.2563 เราเริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ภาวะโลกร้อนที่แตกต่างกันตามคำแนะนำของ TCFD เพื่อตรวจสอบความยืดหยุ่นของกลยุทธ์ของเรา เราใช้สถานการณ์ตามนโยบายที่ประกาศไว้ของ IEA (4DS) และสถานการณ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน (<2DS) เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงในช่วงเปลี่ยนผ่านและสถานการณ์ 8.5 ของ IPCC สำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางกายภาพ ด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบและความเป็นไปได้ในสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ เราไม่เพียงระบุถึงความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทของเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสด้วย

คณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ (TCFD)
เราเป็นผู้สนับสนุน TCFD และรายงานตามการเปิดเผยที่แนะนำ 11 ประการของ TCFD ในรายงานประจำปีฉบับล่าสุดประจำปี พ.ศ.2563